เว็บไซค์นี้มีการใช้งานคุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ เมื่อคุณกดยอมรับเราจะสามารถเลือกแสดงสิ่งที่น่าสนใจสำหรับคุณได้โดยเฉพาะ และหากคุณต้องการเปลี่ยนการตั้งค่าของคุกกี้สามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก "การตั้งค่า" อ่านนโยบายคุกกี้เพิ่มเติม

เมื่อท่านเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัท บริษัทจะใช้คุกกี้เพื่อให้มั่นใจว่าท่านจะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของบริษัท คุกกี้เหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การกำหนดลักษณะหรืออุปกรณ์ของท่าน ตามปกติข้อมูลจะไม่ระบุถึงท่านโดยตรง แต่สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ปรับเข้ากับบุคคลให้ท่านได้มากขึ้น เนื่องจากบริษัทเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถเลือกที่จะไม่อนุญาตคุกกี้บางประเภทได้ โดยเลือกในส่วนหัวของหมวดต่าง ๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นของบริษัท อย่างไรก็ตาม การบล็อกคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์และบริการที่บริษัทสามารถมอบให้ได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรุณาดูที่ประกาศเกี่ยวกับข้อมูลของบริษัทในหน้าคุกกี้ของบริษัท

บริษัทจำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการจดจำตัวเลือกที่ท่านได้เลือกไว้ในตัวจัดการความเป็นส่วนตัวของคุกกี้ ด้วยเหตุนี้ จึงจะเกิดผลลัพธ์สองอย่าง ดังนี้

1. ถ้าท่านลบคุกกี้ทั้งหมดของท่าน ท่านจะต้องอัพเดตค่าการกำหนดลักษณะกับบริษัทอีกครั้ง
2. ถ้าท่านใช้อุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์อื่น ท่านจะต้องบอกค่าการกำหนดลักษณะให้บริษัททราบอีกครั้ง

I-face

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบาย

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ ธพส. 
  • โครงสร้างองค์กร 
  • คณะกรรมการบริหาร 

คณะกรรมการตรวจสอบ

อำนาจหน้าที่

  1. สอบทานรายงานทางการเงินของ ธพส. เพื่อให้มั่นใจว่ารายงานทางการเงินนั้นได้จัดทำอย่างครบถ้วนถูกต้อง ตามควรที่เชื่อถือได้ และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
  2. สอบทานประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และติดตามความคืบหน้าของกระบวนการควบคุมภายในตามกรอบแนวทาง การควบคุมภายใน (Internal Control Framework : COSO 2013) กระบวนการกำกับดูแลที่ดี กระบวนการบริหารความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ และกระบวนการการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ ธพส. ให้อยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)
  3. สอบทานการดำเนินงานของ ธพส. ด้านต่าง ๆ ในทุกประเด็นที่มีความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ รวมถึงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่มีสาระสำคัญต่อสภาพแวดล้อมของความเสี่ยง และมีบทบาทในการสอบทาน เพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับการดำเนินงานของ ธพส. ตามแนวทาง ทั้ง 7 Enablers ตามเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (SE-AM) ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำหนด
  4. สอบทานให้มีระบบงานเชิงป้องกันและเป็นประโยชน์ให้กับฝ่ายงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
  5. สอบทานให้มีกระบวนการทำงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุม การกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสารที่มีประสิทธิผล สอดคล้องตามมาตรฐานสากล
  6. สอบทานการดำเนินงานของ ธพส. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติมติคณะรัฐมนตรี ประกาศหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ธพส.
  7. สอบทานให้มีระบบการตรวจสอบภายในที่ดี และพิจารณาความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน กำกับดูแลการพัฒนาบุคลากรฝ่ายตรวจสอบภายใน รวมทั้งพิจารณาความเพียงพอของจำนวนและทักษะของผู้ตรวจสอบภายในตามความเหมาะสม และรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ ธพส. อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service) การให้คำปรึกษา (Consulting Service) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของฝ่ายตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  8. สอบทานและอนุมัติกฎบัตรฝ่ายตรวจสอบภายใน นโยบาย แผนการตรวจสอบเชิงกลยุทธ์และแผนการตรวจสอบประจำปี งบประมาณ แผนบริหารและพัฒนาทรัพยากร และคู่มือการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน เป็นต้น นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบต้องกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นไปตามมาตรฐานสากล การปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
  9. สอบทานการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ โดยกำกับดูแลให้ฝ่ายตรวจสอบภายในสอบทานการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน และจรรยาบรรณของพนักงาน (Code of Conduct) ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับผู้ตรวจสอบภายในฐานะผู้ปฏิบัติงานใน ธพส. สำหรับประพฤติและปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล (Corporate Governance)
  10. ประสานงานเกี่ยวกับผลการตรวจสอบกับผู้สอบบัญชีและอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือตรวจสอบรายการ ใดที่เห็นว่าจำเป็น รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นชอบค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการ ธพส.
  11. พิจารณาการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของผู้อำนวยการอาวุโส ของฝ่ายตรวจสอบภายใน
  12. พิจารณาและสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) หรือมีโอกาสเกิดการทุจริต (Fraud) คอรัปชั่น (Corruption) ที่อาจมีผลกระทบ ต่อการปฏิบัติงานของ ธพส.
  13. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบและค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีในรายงาน ประจำปีของ ธพส.
  14. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะกรรมการ ธพส. มอบหมาย ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ
  15. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบด้วยตนเอง (Self-Assessment) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการประเมินแบบทั้งรายบุคคลและการประเมินทั้งคณะ เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามที่กำหนด และหารือแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ ธพส. รับทราบและให้การสนับสนุน
  16. เป็นช่องทางสำหรับติดต่อรับข้อร้องเรียนหรือรับแจ้งเบาะแส (Whistle Blowing) โดยเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยผู้บริหาร พนักงาน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายงานการกระทำที่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณ การทุจริต และประเด็นด้านจรรยาบรรณอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบต้องทำให้ผู้แจ้งเบาะแสมั่นใจได้ว่ามีกระบวนการแจ้งเบาะแส ที่เป็นอิสระ มีความน่าเชื่อถือ และสามารถพึ่งพิงได้ โดยมีกระบวนการติดตามเพื่อนำไปสู่ข้อเท็จจริงหรือให้ได้ข้อสรุป รวมทั้งมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสหรือพยาน อย่างยุติธรรมตามประกาศ ธพส. เรื่องหลักเกณฑ์ มาตรการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน