I-face

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบาย

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ ธพส. 
  • นโยบาย 
  • การแถลงทิศทางนโยบายขององค์กรโดยผู้บริหาร 

การแถลงทิศทางนโยบายขององค์กรโดยผู้บริหาร

นโยบายและแนวทางการจัดทำแผนวิสาหกิจและแผนปฏิบัติการประจำปี 2567 ของกรรมการผู้จัดการ

  1. ให้ความสำคัญกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนใหม่ และการผลักดันโครงการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ
  2. สนับสนุนให้หน่วยงานคิดค้นนวัตกรรมใหม่ หรือแนวคิดใหม่ ในการพัฒนากระบวนงานและปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานด้านภารกิจหลัก เช่น ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิศวกรรม และบริหารโครงการ และฝ่ายบริหารอาคาร เพื่อร่วมประกวดรางวัลนวัตกรรมภายนอก
  3. มุ่งเน้น Digital Transformation ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า และการทำงาน โดยต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าทางการเงินด้วย
  4. ต้องการพัฒนาบุคลากรให้คิดเป็นระบบองค์รวม และจัดทำ MOU แลกเปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจและการเยือนกับหน่วยงานคู่เทียบ
  5. CSR มุ่งเน้น CSR in process ที่เน้นผลกระทบในวงกว้าง มากกว่ากิจกรรม เช่น การตัดถนนเพื่อลดผลกระทบจากการจราจร การสร้างอาคารจอดรถ
  6. ส่งเสริมให้พนักงานรับรู้และเข้าใจในเรื่องธรรมาภิบาล และค่านิยมองค์กร (CUPID) มากขึ้น

ทิศทางและเป้าหมายการดำเนินงาน ประจำปี 2567
ธพส. ได้กำหนดกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ โดยมีกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ขององค์กร 7 วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 10 กลยุทธ์ 14 ตัวชี้วัด และ 13 แผนงานเชิงยุทธศาสตร์


และมีการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติผ่าน Balanced Scorecard (BSC) โดยกำหนด กลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย และแผนงาน/โครงการ ที่สอดรับยุทธศาสตร์ ใน 4 มิติ ได้แก่

  1. มิติด้านการเงินความมั่นคงยั่งยืนขององค์กร (Finance & Sustainability Of The Organization) มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับองค์กร โดยการบริหารจัดการศูนย์ราชการ (Zone A,B,C) ให้เต็มศักยภาพ ขยายผลโครงการที่ไม่ใช่ศูนย์ราชการ เพื่อสร้างรายได้และผลตอบแทนให้เต็มศักยภาพ รวมทั้งบริหารจัดการทางการเงินและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
  2. มิติด้านลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Customer and Stakeholder) มุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ที่ดี และคุณค่าร่วม (Shared Value) ให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความสัมพันธ์ และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร รวมถึงการยกระดับการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการความคาดหวังของลูกค้า ผู้ใช้บริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) มุ่งเน้นปรับปรุงพัฒนาระบบงานและการบริหารจัดการองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการบริหารจัดการอาคารให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม & ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน
  4. มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning Perspective and Growth) มุ่งเน้นการบริหาร & พัฒนาบุคลากรเชิงรุกคิดเป็นแบบองค์รวม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาโดยใช้หลักการ Knowledge Management และส่งเสริมการดำเนินงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล