I-face

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบาย

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ ธพส. 
  • โครงสร้างองค์กร 
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

อำนาจหน้าที่

ด้านบริหารความเสี่ยง

  1. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดความเสี่ยงและอาจกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของ ธพส. ในทุก ๆ ด้าน และกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวม เพื่อป้องกัน ควบคุม และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งพิจารณา ให้ความเห็นชอบแผนบริหารความเสี่ยง และควบคุมภายใน ติดตาม ประเมินผลการบริหารความเสี่ยง ตลอดจน ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้แผนการจัดการความเสี่ยงสอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนด โดยรายงานต่อคณะกรรมการ ธพส. เพื่อทราบ และให้ฝ่ายบริหารและพนักงานนำไปปฏิบัติ
  2. กำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง และกำกับดูแลระบบบริหารความเสี่ยง ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่า ธพส. มีการระบุ วิเคราะห์ ประเมินและจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้ และเชื่อมโยงกับระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการควบคุมและการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
  3. ทบทวนความเพียงพอ และความมีประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยง และนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมถึงความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารความเสี่ยง เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าให้แก่ ธพส. รวมทั้งสอบทานกฎบัตรเป็นประจำทุกปี
  4. กำกับดูแลการจัดทำ และพิจารณาให้ความเห็นชอบคู่มือการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน และปัจจัยเสี่ยงระดับองค์กร (Risk Factor)
  5. ส่งเสริมให้มีการสื่อสารเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เพื่อสร้างความตระหนักและการร่วมรับผิดชอบบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผลและคุ้มค่า ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรและกิจกรรมประจำวันของทุกส่วนงาน
  6. กำหนดนโยบายและกำกับให้มีการบูรณาการในเรื่องกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน (GRC : Governance Risk and Compliance) และติดตามผลการดำเนินงาน GRC ขององค์กร
  7. กำกับดูแล และเสนอแนะผู้บริหารความเสี่ยง (Risk owner) ในการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จในระดับองค์กร ตลอดจนระดับโครงการ และเป็นรากฐานในการส่งเสริมให้องค์กรมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
  8. รายงานการดำเนินงานด้านบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการ ธพส. อย่างน้อยเป็นรายไตรมาส ในกรณีที่มีเรื่องสำคัญ ซึ่งกระทบต่อ ธพส. อย่างมีนัยสำคัญต้องรายงานต่อคณะกรรมการ ธพส. เพื่อพิจารณาโดยเร็วที่สุด รวมทั้งรายงานผล การดำเนินงานในรายงานประจำปี ของ ธพส.
  9. กำกับดูแลการจัดทำ/ทบทวนแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan : BCP) ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร และทิศทางตามยุทธศาสตร์องค์กร โดยมีการจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร ที่สามารถใช้งานได้จริง และข้อมูลมีความทันกาล

ด้านการควบคุมภายใน

  1. กำกับดูแลการควบคุมภายใน ตามโครงสร้างองค์กรของ ธพส. เพื่อให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และระบบการประเมินผล การดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM)
  2. พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในระดับหน่วยงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และรายงานต่อคณะกรรมการ ธพส. เพื่อทราบ
  3. รายงานการดำเนินงานด้านการควบคุมภายในต่อคณะกรรมการ ธพส. อย่างน้อยเป็นรายไตรมาส ในกรณี ที่มีเรื่องสำคัญซึ่งกระทบต่อ ธพส. อย่างมีนัยสำคัญต้องรายงานต่อคณะกรรมการ ธพส. เพื่อพิจารณาโดยเร็วที่สุด และรวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในรายงานประจำปีของ ธพส.
  4. ปฏิบัติงานอื่นใดที่คณะกรรมการ ธพส. มอบหมาย