I-face

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบาย

  • หน้าแรก
  • ถาม-ตอบ / ฝากคำถาม / ขอรับบริการ 
  • คำถามทั่วไป 

ถาม-ตอบ / ฝากคำถาม / ขอรับบริการ

พื้นที่พาณิชย์
ประชาสัมพันธ์/กิจกรรม
หน่วยงานราชการ
การจราจร/ที่จอดรถ/รปภ.
พื้นที่ในอาคาร
แม่บ้านและสวน

ขอบัตรเพิ่มได้หรือไม่

ทาง ธพส. ไม่มีนโยบายให้บัตรเพิ่ม ทาง ธพส. จัดส่งบัตรให้หน่วยงานไปหมดแล้วตามขนาดพื้นที่ของหน่วยงานที่เช่า 120 ตารางเมตรต่อ 1 ใบ

ถ้าไม่มีบัตรจะทำอย่างไร จะเข้าได้หรือไม่ (กรณีเป็นข้าราชการ) และหากเจ้าหน้าที่ผู้ถือบัตร ลืมนำบัตรติดตัวมา จะสามารถเข้าพื้นที่จอดรถที่ทาง ธพส. ระบุไว้ให้ MAMBER ได้หรือไหม

เข้าได้ ในช่วงแรกจะมี รปภ. คอยสอบถามข้อมูลและเก็บข้อมูล ว่าอยู่หน่วยงานไหน ทะเบียนอะไร ซึ่ง รปภ. ยังเปิดให้เข้าได้เหมือนเดิม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นำบัตรมาใช้กัน และในกรณีที่ผู้ใช้บัตรลืมนำบัตรมา ผู้ใช้บัตรต้องนำรถไปจอดบนพื้นที่ของ VISITOR เท่านั้น

ถ้าบัตรหายจะทำอย่างไร

บัตรสูญหาย บิด หักงอ ทำใหม่เสีย 300 บาท (ด้านหลังบัตรมีแจ้งไว้) และต้องมีเลขบัตรด้านหลังเท่านั้น ถ้ากรณีบัตรเสียหายจากระบบ ธพส. จะเปลี่ยนใหม่ให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ถ้าบุคคลที่มีบัตร เกษียณอายุราชการ หรือลาออก แล้วไม่คืนบัตรจะทำอย่างไรทางหน่วยงานขอบัตรให้คนใหม่แทนคนเก่าได้หรือไม่

ธพส. แจ้งสิทธ์ให้ทุกคนไปแล้วเพราะถือว่ามีทะเบียน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานจะจัดการเอง เป็นเรื่องเฉพาะของหน่วยงาน ให้หน่วยงานทำข้อมูลแจ้งเข้ามาสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้บัตรแล้วมาให้ยกเลิกแล้ว ธพส. จะทำให้แล้วออกใหม่ให้

ทาง ธพส. มีมาตรการอย่างไรบ้างในการจอดรถที่ไม่มีระเบียบมากๆ (มีการจอดรถตามหัวโค้ง จอดขวางทาง จอดตาม Core ลิฟท์ หรือในพื้นที่ห้ามจอด)

1. รถข้าราชการเอง – หาแนวทางและวิธีการอีกครั้งนึงแล้วจะนำมาหารือกัน

2. รถร้านค้า – ร้านค้ามีของหนักจะให้จอดแค่แปปเดียว แต่ถ้านานเราก็จะมีมาตรการ

3. รถส่งของตามหน่วยงาน- อนุโลมให้จอดได้ตรงนั้นเพราะต้องรอรับนาย ส่งน้ำ เพื่อให้ใกล้ที่สุด

หากนำบัตรไปให้บุคคลอื่นใช้กับรถยนต์คันอื่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้จะเข้าได้หรือไม่

ระบบจะยอมรับให้เข้าได้แต่จะเกิดข้อร้องเรียนกันภายหลังว่ารถที่คุณเอาเข้ามาไม่ตรงกับสิทธิที่คุณได้ยื่นเข้ามา ทาง ธพส. จะเห็นในกล้องที่บันทึก และระบบก็จะเห็นแล้วจะมีการเรียกตรวจสอบ

ผู้ใช้บริการต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ฝอส. สามารถติดต่อได้ที่ท่านใด

นายพิศิษฐ์ จิรเสฐโภคิน 0 2142 2360 – 3

ในกรณียื่นบัตร ไปที่เครื่องอ่านสัญญาณหลายครั้ง แต่ระบบไม้กั้นไม่เปิดไม้กั้นให้ ควรปฏิบัติอย่างไร

การยื่นบัตรไปที่เครื่องอ่านสัญญาณข้อมูลในแต่ละครั้ง ลูกค้าควรเว้นช่วงเวลาประมาณ7 วินาที เพื่อให้เครื่องได้อ่านข้อมูลบนบัตรใหม่

จะมั่นใจได้อย่างไร ว่าไม้กั้นจะไม่ตกกระแทกตัวรถ ระหว่างที่รถกำลังเคลื่อนตัวผ่านไม้กั้นไป

ผู้ใช้บัตรสามารถมั่นใจได้ เนื่องจากช่วงทางเข้า และทางออกของไม้กั้น พื้นถนนใต้ท้องรถลูกค้าจะมีอุปกรณ์ตัวจับโลหะ ฉะนั้นในกรณีที่ผู้ใช้บัตรกำลังเคลื่อนตัวรถผ่านไม้กั้นไปแต่ยังไม่พ้นอุปกรณ์ตัวจับโลหะ ไม้กั้นจะยังไม่ลงมาปิด

ทางกั้นที่ปิดตายชั้น 2 ถ้าหลงขึ้นไปทางที่ไม่เป็นสมาชิกจะทำอย่างไร

Member สามารถขึ้นแลมป์ไปจอดที่ Visitor ได้ที่ชั้น 3,4,5 หรือ สามารถวนลงแลมป์ โดยใช้แลมป์วงกลมทางลงเพื่อมาจอด visitor ชั้น 1 ได้

ตารางที่จอดรถของผู้มีบัตรและไม่มีบัตรจะดูได้ที่ใด

จะอัพ facebook ให้ หน่วยงานสามารถเข้ามาดูได้เลย

หากรถของหน่วยงานที่ไม่มีบัตรจอดรถสมาชิกต้องการเข้าพื้นที่อาคารจอดรถ (BO) หรือรถภายนอกที่ต้องมีการมารับ-ส่งเอกสารของทางหน่วยงาน ต้องดำเนินการอย่างไร

สามารถจอดรถได้ที่อาคารจอดรถ แต่ถ้าหากเป็นรถส่งของ สามารถเข้าอาคาร BO ได้ที่ทางเข้า 1 (อาคารศูนย์ประชุมทรงกลม) และ ทางเข้า 4 (ทางเข้าทิศใต้ชั้น 1) โดยเจ้าหน้าที่ รปภ. จะเปิดไม้กั้น และจะมีการจดทะเบียนรถ

ควรยื่นบัตร ที่เครื่องอ่านสัญญาณนานแค่ไหน เพื่อให้เครื่องอ่านข้อมูล

ผู้ใช้บัตรควรยื่นบัตรไปที่เครื่องอ่านสัญญาณประมาณ 3วินาที

ระยะช่วงมือในการยื่นบัตร ไปที่เครื่องอ่านสัญญาณควรยื่นไประยะทางเท่าไร

ผู้ใช้บัตรควรยื่นบัตรห่างจากตัวเครื่องอ่านสัญญาณประมาณ 1 ไม้บรรทัด

วิธีการถือบัตรที่ถูกต้อง ควรถืออย่างไร

ผู้ใช้บัตรควรถือบัตรช่วงขอบบัตร เพื่อไม่ให้มือของผู้ใช้บังแถบแม่เหล็ก ในระหว่างที่ยื่นบัตรไปที่เครื่องอ่านสัญญาณ และผู้ใช้บัตรต้องนำบัตรยื่นไปที่ช่วงกลางของเครื่องอ่านสัญญาณ

หากต้องการติดบัตรหน้ากระจกรถ เพื่อให้เครื่องอ่านสัญญาณเอง โดยที่ผู้ใช้บัตรไม่ต้องลดกระจกลงเพื่อยื่นบัตรไปที่ตัวเครื่องอ่านสัญญาณได้หรือไหม

ผู้ใช้บัตรไม่สามารถนำบัตรมาติดหน้ากระจกรถได้ เพราะต้องใช้สแกนด้านข้างเท่านั้น

DSI ชั้น 8 มีรถวนมารับเจ้าหน้าที่จากตึก B ไปตึกด้านหน้า แต่ไม่จอดประจำต้องแจ้งมั๊ย

ให้ทำการนัดหมายรับส่งบริเวณประตูทางเข้าต่างๆ

รถหลวงหลังคาสูงของหน่วยงานไม่สามารถขึ้นอาคารจอดรถไปยังที่ของหน่วยงานได้จะให้จอดได้ที่ไหน

ให้จอดที่ชั้น 1 โซน Visitor (เป็นโซนผู้ไม่มีบัตร) เพราะรถหลังคาสูงขึ้นชั้น 2 ไม่ได้

ถ้ามีแขกของหน่วยงานมาติดต่อหน่วยงานจะต้องดำเนินการอย่างไร

ให้แจ้งทาง ธพส. ทราบล่วงหน้าก่อน เป็นกรณีครั้งคราว จะจัดที่ให้จอดทางทิศออกและทิศใต้ เบอร์ติดต่อ 02-1422361 คุณวันชัย

ที่จอดรถมอเตอร์ไซค์อยู่ที่ใด

อาคารจอดรถ BC ชั้น 1

ถ้าบุคคลภายนอกมาติดต่อ จะจอดได้ที่ใด

ทาง ธพส. จัดที่จอดสำหรับผู้มาติดต่อไว้แล้วโดยจอดที่อาคารจอดรถ BC ชั้น 1,3,4,5

โครงการศูนย์ราชการฯ มีแผนการดำเนินงานอย่างไร

แผนการดำเนินงานของโครงการศูนย์ราชการฯ ประกอบด้วย

การจัดตั้ง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด รับสิทธิการเช่าที่ดินจาก กรมธนารักษ์ ทำการลงทุนและบริหารงานก่อสร้าง บริหารจัดการโครงการ ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ
การจัดจ้างกลุ่มงานที่ปรึกษาที่เกี่ยวกับการระดมทุน ที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้าง งานออกแบบและงานควบคุมการก่อสร้าง รวมทั้ง ที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
จัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ ดำเนินการระดมทุนเพื่อนำมาใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ โดยการออกตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุน
เริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2548 โดยตามแผนจะแล้วเสร็จพร้อมให้หน่วยงาน เข้าใช้พื้นที่อาคารได้ประมาณกลางปี 2551

การระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ดังกล่าว นับเป็นหนี้สาธารณะของภาครัฐหรือไม่

สำนักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการระดมทุนภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนในการก่อสร้างโครงการศูนย์ราชการฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญากู้เงินของภาครัฐ และไม่เป็นหนี้สาธารณะตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 แต่อย่างใด

เหตุใดจึงกำหนดวงเงินระดมทุนไว้ 24,000 ล้านบาท ในขณะที่งบประมาณการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 19,016 ล้านบาท

แผนการระดมทุนผ่านโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จำนวนประมาณ 24,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการ ประกอบด้วย

ค่าก่อสร้างโครงการประมาณ 19,016 ล้านบาท ประกอบด้วย - ค่าก่อสร้างประมาณ 18,203 ล้านบาท - ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ และควบคุมงาน ออกแบบ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ประมาณ 813 ล้านบาท
ค่าดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 3,700 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548

การดำเนินงานตามแผนการระดมทุนผลมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง

ตามแผนการระดมทุนซึ่งสอดคล้องกับความต้องการใช้งบประมาณในการก่อสร้างและดำเนินโครงการนั้น บริษัท ดีเอดี เอสพีวี จำกัด จะทำการออกหุ้นกู้ (Securitization Bond) ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง โดยขณะนี้ บริษัท เอสพีวีฯ ได้ทำการออกหุ้นกู้จำหน่ายให้กับประชาชนไปแล้วรวม 3 ครั้ง ดังนี้

การออกหุ้นกู้ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 จำนวน 10,300 ล้านบาท
การออกหุ้นกู้ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2549 จำนวน 8,200 ล้านบาท
การออกหุ้นกู้ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 จำนวน 5,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ หุ้นกู้ของบริษัท เอสพีวีฯ ที่ออกไปแล้ว ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับสูงสุดคือ ที่ระดับ AAA (tha) จากบริษัท ฟิทซ์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด และที่ระดับ AAA จากบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดของตราสารหนี้ในระบบการเงินของประเทศไทย และได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ได้แก่

Best Thailand Deal of the Year 2005 จากนิตยสาร Finance Asia
Best Securitization of Asian Assets ประจำปี 2005 จากนิตยสาร Structured Finance International (SFI) ในเครือ Euro Week
Deals of the Year – 2006 Thailand จากนิตยสาร The Banker ในเครือ Financial Time
Deal of the Year และ Most Creative Issue จากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai BMA)
Thailand Capital Markets Deal 2007 จากนิตยสาร IFRASIA

โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นโครงการระดับเมกะโปรเจคต์โครงการหนึ่งในขณะนี้ ที่มีกระแสเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะการให้ส่วนราชการมาเช่าใช้พื้นที่ในโครงการฯ 30 ปี ทำให้สร้างภาระผูกพันแก่งบประมาณแผ่นดิน เหตุใดจึงต้อง

โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะนั้น ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2535 ด้วยความจำเป็นในการจัดสรรที่ราชพัสดุซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้เพียงพอต่อคำขอใช้ที่ราชพัสดุจากหน่วยราชการส่วนกลางในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก เพื่อใช้ก่อสร้างเป็นอาคารที่ทำการของตนเอง เนื่องจากบางหน่วยงานมีที่ทำการแออัด ไม่เหมาะสม และบางหน่วยงานต้องย้ายออกจากพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งเกิดหน่วยงานใหม่ตามรัฐธรรมนูญ และจากการปฏิรูประบบราชการ ประกอบกับแนวคิดเรื่องการให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) กรมธนารักษ์จึงได้ริเริ่มโครงการศูนย์ราชการฯ ขึ้น โดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวงได้ส่งคืนพื้นที่ประมาณ 450 ไร่เศษ เพื่อนำมาจัดให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่มีความจำเป็นใช้ประโยชน์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2545 เห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์ราชการฯ โดยให้กรมธนารักษ์รับไปดำเนินการ โดยให้คำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด ใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด โดยมีนโยบายในการดำเนินโครงการคือ

ไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง
ไม่ก่อหนี้สาธารณะ
เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เพื่อให้เป็นศูนย์ราชการที่ทันสมัย และประหยัดพลังงานแห่งแรกของประเทศไทย
จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กระทรวงการคลังจึงได้เสนอแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ราชการฯ เพื่อจัดสร้างสถานที่ทำงานถาวรให้กับหน่วยราชการต่างๆ ที่แจ้งความประสงค์ขอใช้พื้นที่จำนวน 29 หน่วยงาน
ในการนี้ เพื่อจะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นภาระงบประมาณทันที และไม่ก่อหนี้สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 แนวทางการดำเนินโครงการ จะใช้วิธีการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมา เพื่อรับสิทธิ์การเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ ลงทุนและบริหารงานก่อสร้าง รวมทั้งบริหารจัดการโครงการศูนย์ราชการ โดยนิติบุคคลจะนำสิทธิเรียกร้องในค่าเช่าพื้นที่อาคารศูนย์ราชการฯ ไปขายให้กับนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จะจัดตั้งขึ้น และนิติบุคคลเฉพาะกิจจะดำเนินการออกตราสารหนี้ หรือหน่วยลงทุนขายให้กับนักลงทุน แล้วนำเงินที่ได้จากการระดมทุนดังกล่าวไปใช้จ่ายในโครงการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (กศร.) ได้มีมติ กศร. ครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 เห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 อนุมัติตามคณะกรรมการ กศร. ครั้งที่ กศร. 2/2547 โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินโครงการตามที่เสนอ ดังนี้

ให้กระทรวงการคลังดำเนินการจัดตั้ง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยให้กระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด และให้กรมธนารักษ์กำกับดูแล โดยธพส. จะทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารโครงการศูนย์ราชการฯ และบริหารจัดการสินทรัพย์อื่นของรัฐบาลตามนโยบายรัฐบาล

เพื่อให้การดำเนินงานของ ธพส. มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ จึงขออนุมัติให้ ธพส. ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป ทั้งนี้ ให้ ธพส. จัดให้มีระเบียบที่เกี่ยวกับการพัสดุ การงบประมาณ การเงินและบัญชี การบริหารงานบุคคล รวมถึงเงินเดือนค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงาน และค่าตอบแทนของกรรมการ เป็นของตนเอง

ให้กรมธนารักษ์ตั้งงบประมาณเพื่อชำระค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน รวมทั้งค่าจัดหาเฟอร์นิเจอร์แทนทุกหน่วยงานในศูนย์ราชการฯ โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณค่าเช่าพื้นที่สำนักงานตลอดอายุสัญญาเช่า 30 ปี และค่าจัดหาเฟอร์นิเจอร์ โดยทยอยจ่ายเป็นเวลา 5 ปี และเป็นผู้ทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับการเช่าพื้นที่ในโครงการแทนทุกหน่วยงานในโครงการ

ให้กรมธนารักษ์เปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2546 จำนวน 208.338 ล้านบาท ไปเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนเริ่มแรกของ ธพส. เพื่อใช้จ่ายในโครงการศูนย์ราชการฯ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณต่อไป

ให้ ธพส. ระดมทุนผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจ เพื่อมาใช้จ่ายในการดำเนินโครงการศูนย์
ราชการฯ

เห็นชอบการจัดสรรพื้นที่ให้แก่ 29 หน่วยงาน ในศูนย์ราชการฯ ตามที่กรมธนารักษ์เสนอ โดยโครงการ ประกอบด้วย พื้นที่ใช้สอยสำหรับหน่วยงาน พื้นที่ส่วนกลางที่หน่วยงานใช้ร่วมกัน พื้นที่ธุรกิจ พื้นที่จอดรถ และพื้นที่ทางสัญจรภายในอาคาร รวมเป็นพื้นที่ก่อสร้างอาคารตามโครงการทั้งสิ้น 929,800 ตารางเมตร คิดเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 19,016 ล้านบาท ทั้งนี้ การจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม
โดยโครงการศูนย์ราชการได้เริ่มดำเนินงานตามแผน ตั้งแต่ปี 2547 และมีความคืบหน้าการก่อสร้าง และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามแผนงานที่กำหนด เพื่อรองรับการเข้าใช้พื้นที่ของหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งหมดในโครงการ ในปี 2551

มีการระบุว่างบประมาณผูกพันที่กรมธนารักษ์จะตั้งขึ้นเป็นค่าเช่าพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆในโครงการศูนย์ราชการฯ ในเวลา 30 ปี เพื่อจ่ายให้กับ ธพส. มีจำนวนประมาณ 82,114 ล้านบาท ขณะที่ค่าก่อสร้างโครงการฯ ใช้วงเงินประมาณ 19,016 ล้านบาทนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ราชการฯ และมีภารกิจที่สำคัญคือ การสร้างและบริหารโครงการศูนย์ราชการฯ โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2547 มีทุนจดทะเบียนทั้งหมด 258,338,120 บาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้น 100 % และมอบหมายให้กรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ธพส.

ทั้งนี้ ในการเข้าใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ ในโครงการนั้น กรมธนารักษ์ในฐานะผู้ทำนิติกรรมแทนทุกหน่วยงานในโครงการได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่อาคารในโครงการฯ จากธพส. จำนวนพื้นที่ใช้สอย 484,000 ตารางเมตร โดยทำสัญญาเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ และสัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ ตามแบบสัญญาที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว โดยมีอัตราค่าเช่าและค่าบริการตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว

โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 รับทราบผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ราชการฯ และอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการฯ ดังกล่าว ตามสัญญาเช่าที่กรมธนารักษ์ได้ทำไว้กับ ธพส. เป็นเวลา 30 ปีตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

สำหรับรายได้จากค่าเช่าต่างๆ โครงการศูนย์ราชการตลอดอายุสัญญาเช่า รวม 30 ปี ประมาณ 82,114 ล้านบาทนั้น ธพส. จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการตลอด 30 ปี ดังนี้

จ่ายคืนเงินต้น (จากการระดมทุนทั้งหมด) 24,000 ล้านบาท
จ่ายค่าดอกเบี้ยโครงการประมาณ 34,000 ล้านบาท
ภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ 10,600 ล้านบาท
ค่าเช่าที่ราชพัสดุ 1,035 ล้านบาท
ค่าบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O & M) 10,000 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ประกันภัยและ Third Parties) 1,620 ล้านบาท
รวมทั้งสิ้นประมาณ 81,255 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของค่าก่อสร้างโครงการฯ ประมาณ 19,016 ล้านบาทนั้น จะอยู่ในส่วนของการจ่ายคืนเงินต้นจำนวน 24,000 ล้านบาท ซึ่งมาจากการระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ securitization
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายข้างต้นบางรายการ เช่น ค่า O & M เป็นค่าใช้จ่ายปกติของอาคารทั่วไป ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าเช่าที่ราชพัสดุที่ ธพส. ต้องจ่ายให้รัฐ เนื่องจากไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หรือเงินอื่นใด

ซึ่งกล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายของธพส. อยู่ในกรอบการลงทุนปกติทั่วไป และธพส. ยังมีภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารองค์กรอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น งบประมาณค่าเช่าที่รัฐต้องจ่ายให้ ธพส. จึงมีความเหมาะสมกับการลงทุน ทั้งนี้ ธพส. จะสามารถบริหารจัดการพื้นที่ธุรกิจประมาณ 29,800 ตารางเมตร สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของ ธพส. ตลอดระยะเวลา 30 ปี

 

ค่าเช่าต่างๆที่กรมธนารักษ์ได้รับอนุมัติให้ผูกพันหนี้ข้ามปีงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

กรมธนารักษ์ในฐานะผู้ทำนิติกรรมแทนทุกหน่วยงานในโครงการได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่อาคารในโครงการฯ จากธพส. โดยทำสัญญาเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร สัญญาบริการ และสัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ มีรายละเอียดดังนี้

1. สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร มีกำหนด 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2581 มีอัตราค่าเช่าพื้นที่อาคาร 144 บาท/ตร.ม./เดือน และเพิ่มค่าเช่าอีกร้อยละ 10 ของอัตราค่าเช่าเดิมทุกๆ 5 ปี
2. สัญญาบริการ มีกำหนด 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2581 มีอัตราค่าบริการ 216 บาท/ตร.ม./เดือน เพิ่มค่าเช่าอีกร้อยละ 10 ของอัตราค่าเช่าเดิมทุกๆ 5 ปี เป็นการให้บริการ เช่น การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย ค่าน้ำ และค่าไฟฟ้า ฯลฯ ในพื้นที่ส่วนกลางทั้งภายในและภายนอกอาคารทั้งหมด
3. สัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ มีกำหนด 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีอัตราค่าบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ 50 บาท/ตร.ม./เดือน
โดยกรมธนารักษ์จะต้องจัดทำคำขอตั้งงบประมาณผูกพันข้ามปี เพื่อชำระค่าเช่าและค่าบริการตามสัญญาดังกล่าว ภายในวันที่ 10 กรกฎาคมของทุกปี ตลอดระยะเวลา 30 ปีให้แก่บริษัท ดีเอดี เอสพีวี จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization)

อัตราค่าเช่าพื้นที่ของโครงการศูนย์ราชการฯ เมื่อเปรียบเทียบกับอาคารสำนักงานทั่วไป ถือว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมเพียงใด

อัตราค่าเช่าพื้นที่อาคารและค่าบริการเมื่อรวมแล้วคิดเป็นตารางเมตรละ 360 บาท/ตร.ม./เดือน เป็นอัตราที่เรียกเก็บในปี 2551 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าเช่าอาคารของเอกชนบริเวณเดียวกันบนถนนแจ้งวัฒนะ เช่น อาคารซอฟท์แวร์ปาร์ค ที่กระทรวงยุติธรรมเช่าอยู่ในปัจจุบันตารางเมตรละ 374.50 บาท ต่อเดือน เพิ่ม 7% ทุก 2 ปี ซึ่งในปี 2551 อัตราค่าเช่าจะเท่ากับตารางเมตรละ 400 บาท ต่อเดือน

สำหรับอาคารบริเวณอื่นที่มีหน่วยงานซึ่งจะเข้าใช้พื้นที่ในโครงการศูนย์ราชการฯ เช่าใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ซึ่งสำนักงานศาลปกครองเช่าอยู่ขณะนี้ มีอัตราค่าเช่าตารางเมตรละ 430 บาท ต่อเดือน ซึ่งตามเงื่อนไขการปรับปรุงเดิมนั้น ในปี 2551 อัตราค่าเช่าจะเท่ากับตารางเมตรละ 470 บาทต่อเดือน

จะเห็นได้ว่าอัตราค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการของโครงการศูนย์ราชการฯ ต่ำกว่าอาคารของเอกชนที่ส่วนราชการเช่าอยู่ในปัจจุบัน

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด และมีหน้าที่อย่างไร

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงการคลัง ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ ทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นของรัฐตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2547 มีทุนจดทะเบียน 258.338 ล้านบาท ธพส. จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารสินทรัพย์ของรัฐบาลตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบของประสิทธิภาพในการจัดการ ผลตอบแทน ทางการเงิน และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม ธพส. มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนชั้นนำ โดยมีวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย ดังนี้

วิสัยทัศน์

1. องค์กรคุณภาพในการจัดตั้งและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้กับรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน
2. บริหารและรับผิดชอบอย่างมืออาชีพ ภารกิจ
3. พัฒนาโครงการที่ได้รับมอบหมาย
- จัดทำแผนโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุ และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
- ดำเนินการตามแผนพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะการให้สิทธิ การเช่า บริหารการก่อสร้าง การระดมทุน และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- บริหารโครงการที่ลงทุนแล้วให้บรรลุผลตามที่ได้วางไว้
4. เสนอแนะพื้นที่ราชพัสดุและโครงการที่ควรนำมาใช้ประโยชน์
5. สนับสนุนงานของกรมธนารักษ์และกระทรวงการคลัง เช่น การทำแผนที่การประเมินราคาที่ดินการประเมินค่าเช่าตามที่ จะได้รับมอบหมาย

เป้าหมาย

บริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ ให้หน่วยราชการทั้ง 29 หน่วยสามารถเข้าใช้งานได้ในเวลาที่กำหนด
มีโครงการที่สร้างรายได้อีกอย่างน้อย 2 โครงการ
มีโครงการเพื่อสังคมอย่างน้อย 3 โครงการ

ธพส. ได้ดำเนินการจัดหาที่ปรึกษาโครงการด้านต่าง ๆ ดังนี้

ที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการ (PMSC) ซึ่งได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัททีมฯ โดยลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2547
ที่ปรึกษาการระดมทุน (Funding Consultant) ซึ่งได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) โดยลงนาม สัญญาจ้างเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2547
ที่ปรึกษาวางผังแม่บทและออกแบบรายละเอียด ซึ่งได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำรวม 12 บริษัท โดยลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548
ที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และวางแผนออกแบบระบบการขนส่งและจราจร โดยได้ลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2548 และได้ดำเนินการศึกษาและแล้วเสร็จไป