วิสัยทัศน์ พันธกิจของ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
วิสัยทัศน์
องค์กรสมัยใหม่ในการพัฒนาและบริหารทรัพย์สินของรัฐให้เกิดมูลค่าเพิ่มเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
เพื่อให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
เป็นองค์กรสมัยใหม่ในการพัฒนาและบริหารทรัพย์สินของรัฐให้เกิดมูลค่าเพิ่มเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จึงปรากฏพันธกิจ (Mission) 4 พันธกิจ ดังนี้
- พัฒนาศูนย์ราชการให้ทันสมัย และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล
- พัฒนาและบริหารทรัพย์สินของรัฐ ให้เกิดมูลค่าเพิ่มทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยหลักธรรมาภิบาล
- พัฒนาธุรกิจใหม่ เพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้ที่หลากหลาย และสร้างประโยชน์แก่รัฐ
- พัฒนาองค์กรด้วยนวัตกรรมและการบริหารจัดการสมัยใหม่
ค่านิยม
- C : Customer Relation (ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
- U : Unity (ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว)
- P : Professionalism & Innovation (ความเชี่ยวชาญในงาน และนวัตกรรม)
- I : Integrity (ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น)
- D : Dedication (ความรับผิดชอบต่อคำมั่นสัญญา)
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
- SO 1 พัฒนาทรัพย์สินของรัฐ ให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน
- SO 2 สร้างประสบการณ์ที่ดี และคุณค่าร่วม (Shared Value) ให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- SO 3 ยกระดับบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ
- SO 4 ปรับเปลี่ยนระบบงาน ด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม
- SO 5 บริหารจัดการการเงินให้มีประสิทธิภาพ
- SO 6 ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
- เพื่อให้ ธพส. มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ที่เหมาะสม และสร้างโอกาสในการพัฒนา โครงการรูปแบบใหม่ โดยคำนึงถึงสังคม
- เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้ามีความประทับใจในการใช้บริการของ ธพส. มีบริการที่ดีและได้มาตรฐาน สามารถตอบสนอง ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า และมีการบริหารจัดการอาคารที่ได้มาตรฐานด้านพลังงาน/สิ่งแวดล้อม
- เพื่อให้บุคลากรมีขีดสมรรถนะสูงและหลากหลาย
- เพื่อให้ ธพส. มีระบบงานกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัย และการบริหารจัดการองค์กรได้มาตรฐานตามเกณฑ์ Enablers
- เพื่อให้มีผลประกอบการทางการเงินที่เหมาะสม
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความเชื่อมั่นไว้วางใจต่อ ธพส.
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินภาครัฐ และสร้างโอกาส ในการพัฒนาโครงการลงทุนใหม่ โดยคำนึงถึง สังคม สิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับการให้บริการลูกค้าและสร้างสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเชิงรุก
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่หลากหลาย (Multi - Skill)
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยกระดับการบริหารจัดการองค์กรเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์และเกณฑ์ Enablers
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการทางการเงินด้วยรูปแบบเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ตอกย้ำธรรมาภิบาลให้ทั่วทั้งองค์กร
แก้ไขล่าสุด : 19 ตุลาคม 2564