ประกาศ ธพส. ที่ 36-2560_นโยบายว่าด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์
นโยบายว่าด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์
การเข้าทำรายงานของ ธพส. กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นรูปธรรมต่อผู้มี ส่วนได้เสียทุกราย โดยเท่าเทียมกัน ธพส. จึงควรทำรายการโดยยึดหลักการดังนี้
รายการที่เกี่ยวโยงกัน
หมายถึง การทำรายการระหว่าง ธพส. กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของ ธพส.
บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน
หมายถึง บุคคลที่อาจทำให้กรรมการหรือผู้บริหารของ พส. มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการตัดสินใจดำเนินงาน ว่าคำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลนั้น หรือประโยชน์สูงสุดของ ธพส. เป็นสำคัญ ได้แก่
1) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุมของ ธพส. ผู้ที่จะได้รับการเสนอให้เป็น กรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องและญาติสนิทของบุคคลดังกล่าว
2) นิติบุคคลใดๆ ที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมตาม 1)
3) บุคคลใดๆ ที่พฤติการณ์บ่งชี้ได้ว่าเป็นผู้กระทำการแทน หรืออยู่ภายใต้อิทธิผลของ 1) และ 2)
4) กรรมการของนิติบุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการบริษัท
5) คู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรม ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการตาม 4)
6) นิติบุคคลที่บุคคลตาม 4) หรือ 5) มีอำนาจควบคุมกิจการ
7) บุคคลใดที่กระทำการด้วยความเข้าใจ หรือความตกลงว่าหาก ธพส.ทำธุรกรรมที่ให้ประโยชน์ทางการเงินแก่บุคคลดังกล่าว บุคคลดังต่อไปนี้จะ ได้รับประโยชน์ทางการเงิน
7.1 กรรมการของ ธพส.
7.2 ผู้บริหารของ ธพส.
7.3 บุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการ ธพส.
7.4 กรรมการของบุคคลที่มีอำนาจควบคุมกิจการ ธพส.
7.5 คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลตาม 7.1 ถึง 7.4
ผู้บริหาร
หมายถึง กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกต่อจากกรรมการผู้จัดการลงมาและผู้มีตำแหน่งเทียบเท่ารายที่ 4 ทุกราย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
หมายถึง ผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในนิติบุคคลใดเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงของนิติบุคคลนั้น
รายการที่เกี่ยวโยงกัน
คณะกรรมการต้องพิจารณาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกับนระหว่างบริษัทกับบริษัทอย่างรอบคอบ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อย่างมีเหตุผลและเป็นอิสระภายใต้กรอบจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของ ธพส. รายการที่เกี่ยวโยงกันแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ในการทำงาน อาจเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนของกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน กับผลประโยชน์ของ ธพส. จึงมีการกำหนด แนวทางที่พึงปฏิบัติ ดังนี้
กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน พึงหลีกเลี่ยงการรับของขวัญทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน จากคู่ค้าหรือผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ ธพส. เว้นแต่ใน เทศกาลหรือประเพณีนิยม แต่ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิเสธและต้องรับของขวัญซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท ต้องแจ้งให้ ผู้บังคับบัญชาหรือเลขานุการคณะกรรมการ กำกับดูแลกิจการ เพื่อนำไปเป็นของรางวัลแก่พนักงาน
คณะกรรมการตรวจสอบ
มีหน้าที่สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการระหว่างกัน ที่มีนัยสำคัญระหว่างบริษัทกับบริษัท พิจารณาการเปิดเผยสารสนเทศของ ธพส.
พนักงานทุกระดับ
จะต้องจัดทำรายงานการเปิดเผยรายการที่สงสัยว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันกับผลประโยชน์ของ ธพส. โดยแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น